ประวัติของหน่วยงาน กองการสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙

     มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งงานประชาสัมพันธ์ขึ้นเพื่อทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยไปยังกลุ่มเป้าหมายภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จนกระทั่ง ๒๕๔๔ มหาวิทยาลัยได้ยกฐานะจากงานประชาสัมพันธ์ ขึ้นเป็น โครงการจัดตั้งศูนย์มวลชนสัมพันธ์ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานทางด้านข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนสื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มเป้าหมายทั้งภายในและภายนอกองค์กรและรับผิดชอบงานบริการวิชาการในโครงการชมรมทูบีนัมเบอร์วัน และสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา “ซีอาร์ยู” เรดิโอ.

ต่อมา ๒๕๕๓

     มหาวิทยาลัยได้ปรับโครงสร้างหน่วยงานภายใน โดยปรับเปลี่ยน ศูนย์มวลชนสัมพันธ์ เป็น “งานประชาสัมพันธ์” อยู่ในสังกัดหน่วยงานสำนักงานอธิการบดี มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านประชาสัมพันธ์และสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานอธิการบดี.

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖

     มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้เปลี่ยนทีมผู้บริหารและระบบการบริหารในด้านต่างๆของมหาวิทยาลัย และได้ยกฐานะของหน่วยงานประชาสัมพันธ์ เป็น”สำนักสื่อสารองค์กร” มีภาระหน้าที่รับผิดชอบและสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารองค์กรและการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย โดยมีภารกิจที่สำคัญคือ การส่งเสริมและรักษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานวิชาการ และกิจกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ.

พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓

     สำนักสื่อสารองค์กร ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อ เป็น “สำนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร” โดยทีมผู้บริหารได้มีนโยบายให้ สำนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรมีภารกิจเป็นหน่วยงานเผยแพร่ ข่าวสารสร้างภาพลักษณ์ กว้างไกล ร่วมสมัย ทันเหตุการณ์และมีพันธกิจ ในการผลิตข่าวสารให้มีคุณภาพ พร้อมสำหรับการเผยแพร่ดำเนินกิจกรรมด้านการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักและเกิดการยอมรับ เน้นการสื่อสารให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย และเป็นที่พึ่งของหน่วยงานอื่นด้านการผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ให้กับท้องถิ่นสู่สากล.

พ.ศ. ๒๕๖๔ – ปัจจุบัน

     สำนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ถูกปรับเปลี่ยนเป็น “กองการสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์” เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดำเนินงานภายใต้ภารกิจเดิม และมุ่งเน้นการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

วิสัยทัศน์ “Center of Communication for all : ศูนย์กลางการสื่อสารสำหรับทุกคน” โดยมีพันธกิจ 4 ประการ

          1) เป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์และเชื่อมความสัมพันธ์ในองค์กร

          2) ประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเชิงรุก

          3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการสื่อสารและส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

          4) บริหารจัดการองค์กรด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัยและเชื่อถือได้

เอกลักษณ์กองการสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ “Real-time Communications : สื่อสาร    ทันเหตุการณ์”

วัฒนธรรมองค์กร “4Cs = Communication Creative Content Connections (สื่อสาร สร้างสรรค์ สร้างเนื้อหา สร้างเครือข่าย)”

เป้าหมายหลักความสำเร็จ ในระยะ 5 ปี ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาฉบับนี้กองการสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ได้กำหนดเป้าหมายของความสำเร็จ 4 ประการ ภายใต้การดำเนินงานใน 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ตามรายละเอียดดังนี้

เป้าหมายหลักที่ 1 :  ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัย เชื่อถือได้ เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร และเชื่อมความสัมพันธ์อันดีภายในมหาวิทยาลัย

          กองการสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ มุ่งเน้นการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัย และเชื่อถือได้ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และเชื่อมความสัมพันธ์อันดีภายในมหาวิทยาลัย จึงกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 1 ประเด็น ได้แก่ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรและนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย โดยภาพความสำเร็จของ กองการสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ตามเป้าหมาย ได้แก่

  • จำนวนสื่อประชาสัมพันธ์ (10 สื่อ)
  • จำนวนสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ได้รับการเผยแพร่ (50 กิจกรรม)
  • ระดับความพึงพอใจของบุคลากรและนักศึกษาต่อการเผยแพร่ข่าวสารและกิจกรรมของมหาวิทยาลัย (ระดับดีมาก)
  • จำนวนเครือข่ายการสื่อสารองค์กรภายในมหาวิทยาลัย (3 เครือข่าย)

 

เป้าหมายหลักที่ 2 : วางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่มีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นการรับรู้ข้อมูลและการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

          กองการสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ มุ่งเน้นการวางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรการศึกษาและหลักสูตร   การเรียนรู้ตลอดชีวิตระดับต่างๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จึงกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
1 ประเด็น ได้แก่ ออกแบบและพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการตลาดเชิงรุก และช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยภาพความสำเร็จของกองการสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ตามเป้าหมาย ได้แก่

  • จำนวนกิจกรรมทางการตลาดการรับนักศึกษาใหม่ (5 กิจกรรม)
  • จำนวนช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการรับนักศึกษา (10 ช่องทาง)
  • จำนวนเครือข่ายสถาบันการศึกษาเพื่อการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการรับนักศึกษา (3 เครือข่าย)
  • ระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหลักสูตรการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต (ระดับดีมาก)

 

เป้าหมายหลักที่ 3 : สร้างเครือข่ายการประชาสัมพันธ์กับองค์กรภายนอกเพื่อขับเคลื่อนภาพลักษณ์  ที่ดีของมหาวิทยาลัยสู่ประชาคมมหาวิทยาลัยและสาธารณชน

                     กองการสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายด้านการสื่อสารกับองค์กรภายนอกเพื่อขับเคลื่อนภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยสู่ประชาคมมหาวิทยาลัยและสาธารณชน จึงกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 1 ประเด็น ได้แก่ สร้างเครือข่ายการสื่อสารและประชาสัมพันธ์กับองค์กรด้านการสื่อสารชั้นนำในการส่งต่อภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย โดยภาพความสำเร็จของ กองการสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ตามเป้าหมาย ได้แก่

  • จำนวนเครือข่ายความร่วมมือด้านการสื่อสารภายนอกมหาวิทยาลัย (3 เครือข่าย)
  • จำนวนสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย (10 สื่อ)
  • ระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัย (ระดับดีมาก)

 

เป้าหมายหลักที่ 4 : ยกระดับการบริหารจัดการองค์กรด้วยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่ทันสมัย และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารการตลาด

          กองการสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ มุ่งเน้นการยกระดับการบริหารจัดการองค์กรด้วยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่ทันสมัย เชื่อถือได้ และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารการตลาด จึงกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 1 ประเด็น ได้แก่ พัฒนาประสิทธิภาพ การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ เสริมสร้างศักยภาพและทักษะการปฏิบัติงานด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์อย่างเป็นมืออาชีพ โดยภาพความสำเร็จของกองการสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ตามเป้าหมาย ได้แก่

  • ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ (ร้อยละ 100)
  • จำนวนนวัตกรรมเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กร (2 นวัตกรรม)
  • จำนวนบุคลากรที่เข้าสู่กระบวนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาชีพที่สูงขึ้น (3 คน)

ปรัชญา

วิสัยทัศน์

พันธกิจ

วัตถุประสงค์

เป้าหมาย

ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา